ใบงานที่ 2
ชื่อหน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
สถานที่ตั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 อ.ท่าศาลา
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
นครศรีธรรมราช เขต 4
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความ อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมหรือสัญญาณระบบต่างๆ
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อหน่วยงานทางการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ Globalizationมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมที่จะนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนนักเรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้น และการต้องดูแลสนับสนุนการจัการศึกษามากขึ้น ด้วยระยะเวลาที่สั้นลงการใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวโดยสรุปนวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้
๑. การเพิ่มปริมาณของผู้มาใช้บริการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามากขึ้น เช่น มารับบริการด้านสวัสดิการต่าง ๆ เช่นค่ารักษาพยาบาล ค่าศึกษาบุตร การประกวดราคา การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดประชุม ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้ต้องอาศัยนวัตกรรมและสารสนเทศทั้งสิ้น
๒. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การสนับสนุนการเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอบแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
๓. การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้นตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer Assisted Instruction หรือ CAI การเรียนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น
๔. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคมมีส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดนนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ที่เรียกว่า "Web-based learning" ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Any where,Any time for Everyone) การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวางในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้นแต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง และรวดเร็วมากกว่าก่อนนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทบาทของนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่ ๆ ตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบมัลติมีเดีย วีดีโอออนดีมานด์ (Video-on-Demand) การประชุมทางไกล (Teleconference)
อี-เลินนิ่ง (e-learning) อี-เอ็ดดูเคชั่น (e-Education) เป็นต้น
วิสัยทัศน์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการศึกษา ยึดหลักธรรมาภิบาล จัดบริการที่ดีและการมีส่วนร่วม บุคลากรมีศักยภาพ ก้าวทันเทคโนโลยี ผู้เรียนมีคุณธรรม มีคุณภาพตามมาตรฐาน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ยุทธศาสตร์
1. ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ผู้เรียนทุกคน
2. เพิ่มอัตราการเข้าเรียนในช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 ทั้งเด็กทั่วไป ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ลดอัตราการออกกลางคัน
3. พัฒนาศักยภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร
4. เร่งพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยี
5. พัฒนาระบบบริการในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
6. พัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
บริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 เป็นหน่วยงานทางการศึกษา
ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ขึ้นตรงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอท่าศาลา
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภาระกิจหลักสำคัญคือให้การสนับสนุนด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับเด็กในวัยเรียนภาคบังคับทุกคนในเขตบริการ
มีบุคลากรในสำนักงานจำนวนทั้งสิ้น 102 คน มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ จำนวน 12 คน มีโรงเรียนอยูในสังกัดทั้งสิ้น จำนวน 181 โรงเรียน (ของรัฐบาล 158 โรงเรียน ของเอกชน 23 โรงเรียน) ต้องให้การสนับสนุนดูแลข้าราชการครูเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการและความก้าวหน้าทางวิชาชีพ จำนวน 3,251 คน
โครงสร้างของหน่วยงาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสรีธรรมราช เขต 4 แบ่งโครงสร้างขององค์กรออกเป็นกลุ่ม
ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 7 กลุ่มด้วยกัน ในแต่ละกลุ่มจะมีผู้อำนวยการกลุ่ม เป็นผู้คอยตรวจสอบกลั่นกรองงาน และมีรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้กรองงานอีกชั้นหนึ่งก่อนที่จะนำเสนอให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อนุมัติตัดสินใจ ยกเว้นหน่วยตรวจสอบภายในจะเสนองานโดยตรงต่อผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ไม่ต้องผ่านรองผู้อำนวยการ
กลุ่มต่าง ๆ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ฯ มี 7 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มอำนวยการและสินทรัพย์
2. กลุ่มนโยบายและแผน
3. กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
4. กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน
5. กลุ่มบริหารงานบุคคล
6. กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล
7. หน่วยตรวจสอบภายใน
แผนภูมโครงสร้างขององค์กร
สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
ปัญหาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
เนื่องจาก
1. สภาพการทำงานในปัจจุบัน ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการบริหารจัดการ เช่น นำคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ท ซอฟแวร์ โปรแกรม ต่าง ๆ เข้ามาใช้ ซึ่งทุก ๆ อย่างล้วนแต่มีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันระบบสารสนเทศได้นำเข้ามาใช้ในเชิงสนับสนุนด้านการศึกษามากมาย เช่น ระบบการรับส่งหนังสือราชการด้วยระบบ e-office ระบบ
e-ffiling ระบบ VDO.Conferrent ระบบการศึกษาผ่านดาวเทียม เป็นต้น
2. การบำรุงรักษา ดูแล วัสดุ อุปกรณ์ เกียวกับเทคโนโลยี ยังไม่ได้มาตรฐาน
ดังนั้น เมื่อได้รับการจัดสรรวัสดุ อุปกรณ์มาแล้ว ก็ดูแลรักษาไม่เป็นทำให้การใช้งานไม่คุ้มค่ากับราคา
3. บุคลากรที่เป็นผู้ใช้เทคโนโลยี ไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ จึงทำให้นำมาใช้ได้ไม่เต็มศักยภาพ เช่น ได้รับการจัดสรรคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค มา 1 เครื่อง ก็นำมาใช้พิมพ์หนังสืออย่างเดียว กรณีดังกล่าวถือว่านำมาใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ ทั้ง ๆที่คอมพิวเตอร์นั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางหากมีความรู้ความสามารถ เช่น นำมาใช้ในการสืบค้นหาข้อมูล ประกอบการวางแผนอัตรากำลัง หรือวางแผนในการลงทุน วิเคราะห์ ประมวลผล ในเรื่องสถิติต่าง ๆ ได้มากมาย แม้นแต่การเดินทางรอบโลกก็สามารถท่องเที่ยวทางอินเตอร์เน็ตได้
ดังนั้นจึงถือว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องจัดอบรมพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ ความชำนาญในการค้นคว้า และโปรแกรมต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
4. ไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย กล่าวคือ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้วยังเก่าล้าสมัยไม่ทันต่อโปรแกรมต่าง ๆ ที่มีความไวสูง และ ยังมีไม่เพียงพอ เช่น บุคลากร 3 คนต่อ คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ไม่ทันกับสถานการณ์ที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา
5. ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญในการเตรียมบุคลากรในการใช้เทคโนโลยี กล่าวคือยังขาดการวางแผนล่วงหน้าว่าในอนาคตต้องเตรียมบุคลากร หรือเตรียมอะไรไว้รองรับบ้าง
6. ข้าราชการส่วนหนึ่งยังไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมรับเทคโนโลยีสมัยใหม่
7. ยังขาดระบบที่ทันสมัย เช่นระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ระบบเครือข่ายผ่านดาวเทียม ระบบไมโครเว็ป เป็นต้น
ผู้ให้ข้อมูล นายจารุวัฒน์ เสนลิ้น
รหัสนักศึกษา 5246701012
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
ณ วันที่ 19 พ.ย.2552
glitter-graphics.com
14 ธ.ค. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น