29 ธ.ค. 2552

สรุปการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS จากการเรียนเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2552

โปรแกรม SPSS

1. เปิดโปรแกรม SPSS 11.5 For Window
2. เตรียมเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรมประเมินผล
- สร้างรหัสและการกำหนดช่วงตัวแปร เช่น ตัวแปร SEX เพศ ใช้เลข 1 แทนเพศ ชาย และ 2 แทน เพศ หญิง ,
AGE อายุ ( 1 แทนช่วง 20- 30 ปี ) เป็นต้น, YEAR ปี เป็นต้น
ต่อไปก็คือการลงรหัสแบบสอบถาม

3. การเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์
เมื่อนำเครื่องมือไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างแล้ว คำตอบที่ได้ทั้งหมดจากกลุ่มตัวอย่าง
ต้องนำมาจัดเตรียมก่อนจะเริ่มต้นวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ข้อมูลชุดที่ 1 ID /01, SEX =1, AGE = 28, เป็นต้น

4. การนิยามตัวแปร
ภายในหน้าต่าง ๆ ของ SPSS ให้คลิกที่ “Variable new” ก็จะปรากฏหน้าต่างเป็นตารางออกมาแล้วก็พิมพ์ คำว่า เพศ
ในช่อง NAME คลิกช่อง TYPE จะปรากฏหน้าต่างมาให้ ให้ คลิก STRING สำหรับข้อมูล แบบอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ข้อมูลชนิดนี้ไม่สามารถนำมาใช้ในการคำนวณได้แต่สามรถหาความถี่ได้ เช่น Label ใช้สำหรับอธิบายตัวแปร เช่น SEX เราใช้ 1 แทนเพศชาย และ 2 แทนเพศหญิง ให้พิมพ์เลข 1 ลงไปในช่อง “Value ” และพิมพ์ คำว่า ชาย ลงในช่อง Value Label
คลิก Add พิมพ์ 2 ในช่อง Value และพิมพ์ คำว่าหญิง ในช่อง Value Labet แล้วคลิก Add จากนั้นคลิก OK
เมื่อพิมพ์คุณลักษณะของตัวแปรครบแล้วก็ให้ป้อนข้อมูลทุกกลุ่มตัวอย่างลงไปให้ครบ สมมติ คนที่ 1 เพศชาย อายุ 25 ปี ก็ให้ป้อนข้อมูลตัวแปร “เพศ” โดยใส่เลข 1 เป้นต้น เมื่อใส่ข้อมูลครบถ้วนแล้วก็ SAVE ข้อมูล สรุปโดย (จารุวัฒน์ เสนลิ้น 5246701012)
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
- คลิกไปที่ Analyze
- คลิก Reports เมนูย่อย Olap Cubes ในช่อง Grouping Variable (s) : ใส่ตัวแปร
จัดกลุ่ม (Norminal) ส่วนช่อง Summary Vaiable (s) ใส่ตัวแปรเชิงปริมาณ (Scale) : หลังจากนั้นคลิกไปที่ช่อง Statistics ก็จะปรากฏหน้าต่าง แล้วคลิกปุ่ม Continue และคลิก OK โปรแกรมประมวลผลแสดงหน้าต่าง Output ผลที่ได้จะเป็นไปตามตารางพื้นฐานต่าง ๆ ของตัวแปรตามที่เราเลือกเอาไว้
สรุปโดย (จารุวัฒน์ เสนลิ้น 5246701012)

6. การแจกแจงความถี่และสถิติพื้นฐาน
- เปิดข้อมูลเดิมที่ทำเอกไว้ก่อนแล้ว
- คลิกเมนูหลัก Analyze เมนูสำรอง Descriptive Statistic และเมนูย่อย Frequencies
จะปรากฏหน้าต่าง Frequencies หลังจากนั้นถ้าหากจะหาความถี่ตัวแปร อายุ ก็ให้คลิกที่คำว่าอายุ ในช่องซ้ายแล้วคลิกลูกศรตรงกลาง หลังจากนั้นก็ไปคลิกที่ปุ่ม Statistics ก็จะปรากฏหน้าต่าง Frequencies : Statistice เราก็สามารถที่จะเลือกสถิติที่ต้องการได้ โดยคลิกเครื่องหมาย ถูก ในสี่เหลี่ยมด้านหน้าสถิติที่ต้องการ แล้วคลิก Add หลังจากนั้นก็ใส่คำที่ต้องการหา แล้วคลิกปุ่ม Add อีกครั้ง ส่วนสถิติอื่น ๆ ก็สามารถจะเลือกคำนวณได้ตามความต้องการ เช่น Mean : แสดงค่าเฉลี่ย ,
Median : แสดงค่ามัธยฐาน,Mode : แสดงค่าฐานนิยม, Sum : แสดงค่าผลรวม, Range : แสดงค่าพิสัย, Minimum : แสดงค่าต่ำสุด,Maximum : แสดงค่าสูงสุด เป็นต้น เมื่อคลิกสถิติที่ต้องการแสดงผลแล้วก็คลิกปุ่ม Continue และถ้าหากต้องการสร้างกราฟให้ไปคลิก ที่หน้าต่าง Frequencies แล้วคลิกปุ่ม Chats ก็จะปรากฏหน้าต่าง requencies : Chart ออกมา เราก็สามารถที่จะดำเนินการขั้นต่อไปได้

ขอสรุปย่อ ๆ แค่นี้ก่อนนะครับ สวัสดีปีใหม่ 2553

23 ธ.ค. 2552

ใบงานที่ 11

ใบงานที่ 11

สวัสดีปีใหม่ 2553


คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ
ความคิดเห็นที่มีต่ออาจารย์ผู้สอน

“อาจารย์สอนดีครับ ผมเข้าใจแม้ว่าบางครั้งดูจะเร็วไปนิดแต่เมื่อได้นำมาทบทวนที่บ้านก็เข้าใจครับ
ผมคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีมากที่ได้ศึกษาวิชานี้กับอาจารย์ เพราะทำให้ผมสร้าง e-mail และสร้าง blogger เป็น ซึ่งถ้าหากไม่ได้มาเรียนวิชานี้ผมคงจะเชยมาก ๆ ครับ คงจะตามเทคโนโลยีไม่ทัน”
และเนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2553 ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนไตร และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วทั้งสากล องค์พระบรมธาตุเมืองนคร และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อาจารย์ให้การเคารพนับถือ จงปกปักรักษาและคุมครอง และส่งเสริมสนับสนุน ให้ท่านและครอบครัว จงมีแต่ความสุขความเจริญ และ คล้วคลาดจากภยันตรายต่าง ๆ ตลอดไปด้วยกาลนานเทอญ
จารุวัฒน์ เสนลิ้น

ใบงานที่ 10



ใบงานที่ 10 ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นายจารุวัฒน์ เสนลิ้น ตำแหน่งปัจจุบัน นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ
กลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 4
เกิดวันที่ 7 มิถุนายน 2504 สถานที่เกิด 18/ 4 ม. 6 ต.ปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช


. ประวัติการศึกษา
ประถมศึกษาปีที่ 1 – 7 พ.ศ. 2511 – 2518 โรงเรียนวัดหมน
มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 พ.ศ. 2518 – 2521 โรงเรียนเชียรใหญ่
มัธยมศึกษาปีที่ 4-5 พ.ศ. 2521 – 2523 โรงเรียนปากพนังวิทยา
ศิลปศาสตร์บัณฑิต พ.ศ. 2523 – 2528 มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศศ.บ. รัฐศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ
ศึกษาศาสตร์บัณฑิต พ.ศ. 2540-2543 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศษ.บ. (ประถมศึกษา)


ประวัติการรับราชการ (จากเริ่มรับราชการจนถึงปัจจุบัน แสดงเฉพาะที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรง
ตำแหน่งในระดับสูงขึ้นแต่ละระดับและการเปลี่ยนแปลงในการดำรงตำแหน่งในสายงาน ต่าง ๆ
วัน เดือน ปี ตำแหน่ง สังกัด
30 เมษายน 2536 เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 2 เรือนจำกลางพัทลุง
15 มีนาคม 2537 เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

3 กรกฎาคม 2538 บุคลากร 3 งานอัตรากำลัง
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่
สปจ.นครศรีธรรมราช
3 กรกฎาคม 2539 บุคลากร 4 งานอัตรากำลัง
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่
สปจ.นครศรีธรรมราช
1 ตุลาคม 2541 บุคลากร 5 งานอัตรากำลัง
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่
สปจ.นครศรีธรรมราช
1 ตุลาคม 2544 บุคลากร 6 ว งานอัตรากำลัง
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่
สปจ.นครศรีธรรมราช
7 กรกฎาคม 2547 บุคลากร 6 กลุ่มบริหารงานบุคคล
9 สิงหาคม 2547 บุคลากร 7 ว กลุ่มบริหารงานบุคคล
งานการเจ้าหน้าที่ สพท.นครศรีธรรมราช เขต 3
สปอ.ปากพนัง ……
สปจ.นครศรีธรรมราช
1 กุมภาพันธ์ 2549 บุคลากร 7 ว กลุ่มบริหารงานบุคคล
สพท.นครศรีธรรมราช เขต 4
17 สิงหาคม 2549 เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 ว/8ว กลุ่มอำนวยการ
สพท.นครศรีธรรมราช เขต 4
6 สิงหาคม 2550 เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 8 ว กลุ่มอำนวยการ สพท.นครศรีธรรมราช เขต 4
15 สิงหาคม 2552 นักจัดการงานทั่วไป ชำนาญการพิเศษ กลุ่มอำนวยการ สพท.นครศรี ธรรมราช เขต 4

ใบงานที่ 9

ใบงานที่ 9 คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ

คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพในยุคปัจจุบัน ในทัศนะของผู้เขียน

1. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล “สง่าดุจพญาราชสีห์ มองกว้างไกลดั่งพญาอินทรี”
2. โปร่งใสตลอดกาล
3. ชำนาญในวิชาชีพ
4. รีบเร่งทันเหตุการณ์
5. ประสานดีเลิศ
6.
เพริดแพรวเทคโนโลยี
7. มีความยุติธรรม
8. นำทศพิธราชธรรมมาใช้ในการบริหาร
9. พาองค์การสู่เป้าหมาย
10. สุดท้ายต้องทดแทนคุณแผ่นดิน

21 ธ.ค. 2552

ใบงานที่ 7..การใส่ปฏิทิน, นาฬิกา, ทำไสลค์

1.การใส่ปฏิทิน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

เปิด google พิมพ์คำว่า code ปฏิทิน กด enter เปิดเวปที่เกี่ยวข้อง เพื่อ copy code เมื่อทำการ copy เสร็จแล้วให้เปิดบล็อกของตนเอง แล้วเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นคลิ๊ก ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget จากนั้น คลิ๊กในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกด บันทึก (save) เพื่อยืนยัน
2.การใส่นาฬิกา มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
เปิด google พิมพ์คำว่า code นาฬิกา กด enter เปิดเวปที่เกี่ยวข้อง เพื่อ copy code เมื่อทำการ copy เสร็จแล้วให้เปิดบล็อกของตนเอง แล้วเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นคลิ๊ก ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget จากนั้น คลิ๊กในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกด บันทึก (save) เพื่อยืนยัน
3.การทำสไลด์ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ให้เข้าไปใน www.slide.com จากนั้น ทำการสมัครสมาชิกให้เรียบร้อย
จากนั้น เข้าสู่ระบบ โดยการใส่ username และ password ที่ได้สมัครไปข้างต้น หลังจากเข้าสู่ระบบเรียบร้อยให้ คลิ๊กตรง สร้างการแสดงภาพสไลด์ จากนั้นไปที browse เพื่อเพิ่มรูปภาพที่ต้องการ เมื่อทำการ upload รูปเสร็จ ก็ไปในส่วน ดัดแปลงแบบของคุณ ทำการเลือกรูปแบบ หลากหลาย ขนาด เอ๊ฟเฟกต่างๆ ตามใจชอบ เมื่อเลือกได้ตามที่ต้องการ ให้บันทึก เพื่อรับรหัส code จากนั้น copy code ที่ได้ไปวางไว้ในส่วนของบทความใหม่ หรือใน Gadget ก็ได้. เสร็จแล้ว คลิ๊ก บันทึก เพื่อยืนยัน
4. การปรับแต่งสีใน blog มีขั้นตอนดังนี้
เปิด blog ของตัวเอง เข้าไปในส่วนของ รูปแบบ จากนั้น คลิ๊ก แบบอักษรและสี สามารถเลือกปรับแต่งสี ในส่วนต่างๆของหน้า blog เมื่อเลือกเสร็จให้คลิ๊ก บันทึกการเปลี่ยนแปลง
เพื่อยืนยัน
5. การใส่เพลง มีขั้นตอนดังนี้
ให้เข้าไปใน http://happyvampires.gmember.com/home.php?1402
จากนั้น คลิ๊กเลือกเพลงที่ต้องการ copy embed เพื่อนำ code ที่ได้ไปวางไว้ในบล็อกตัวเอง โดยอาจจะวางในส่วนของบทความใหม่ ก้อได้
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

[ของตกแต่งโดนๆคลิกเลย]

14 ธ.ค. 2552

ใบงานที่ 6. ประโยชน์ของ Google



ใบงานที่ 6


. ประโยชน์ของ http://www. Google.co.th/
ประโยชน์ของ Google ในการบริการ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม โดยแบ่งออกตามความสามารถในการทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้

1. บริการในกลุ่มดัชนีค้นหา(Search Engines) Google Web Search Features
ประกอบด้วยบริการค้นหาต่อไปนี้

1.1 Book Search :• บริการค้นหาหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ของ Google ที่เพิ่งเปิดให้บริการกับแฟนหนังสือโดยเฉพาะ
1.2 Cached Links• :บริการช่วยจับประเด็นหรือหัวเรื่องสำคัญของเว็บไซต์ที่คุณต้องการจะค้นหา
1.3 • Calculator : เครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่คุณสามารถตั้งตัวเลข โดยคีย์ลงในช่องค้นหาของ Google แล้วคลิ้กหาคำตอบที่ต้องการได้เลย
1.4 • Currency Conversion : บริการแปลงหน่วยมาตราเงินสำหรับระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา
1.5 • Definitions : หมวดคำศัพท์ที่คุณสามารถค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
1.6 • File Types : ดัชนีค้นหาสินค้าออนไลน์ทั่วทุกมุมโลก
1.7 Groups :• ถ้าหากว่าคุณอยากรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีคนโพสต์กันบนเว็บไซต์ สามารถค้นหาได้จากบริการนี้
1.8 I ‘m Feeling Lucky :• ปุ่มบริการดัชนีค้นหาที่ช่วยให้ค้นหาเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงประเด็น โดยข้ามลิงก์ของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกตัดออกไป
1.9 Images :• ระบบดัชนีค้นหารูปภาพที่คลิกได้ง่าย และเร็วทันใจ
2. บริการในกลุ่ม Google Services

2.1 Alerts :• Answer :•บริการแจ้งเตือนข่าวสารและผลการค้นหาผ่านอีเมล์แบบออนไลน์ บริการตอบคำถามให้กับคุณได้ทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ โดยนักวิจัยชื่อดังกว่า 500 คน
2.2 Blog Search : บริการค้นหาหัวข้อเรื่องที่เป็น Blog•
2.3 Catalogs :•ในประเด็นที่คุณสนใจ บริการค้นหารายการสินค้าที่คุณสนใจและต้องการจะสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์
2.4 • Directory : บริการค้นหาสาระสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์
2.5 Labs :• บริการใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดสอบใช้งานได้ฟรี ก่อนที่จะออกมาเป็นชุดเต็มของโปรแกรม
2.6 Mobile : บริการหลักของ Google• ที่สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์มือถือ เช่น บริการดัชนีค้นหาเอกสาร รูปภาพ หรือส่ง SMS

3. บริการในกลุ่ม Google Tools

3.1 Blogger :• เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือสำหรับสร้าง Blogger ของคุณเอง
3.2 Code :• เครื่องมือสำหรับดาวน์โหลด APls และ Source code
3.3 Desktop :• เครื่องมือสำหรับช่วยค้นหาไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
3.4 • Earth : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถค้นหาแผนที่โลกจากดาวเทียม
3.5 • Gmail : บริการอีเมล์รุ่นทดสอบของ Google ที่มีความจุกว่า 2.6 กิกะไบต์


คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

2. การค้นหาข้อมูลขั้นสูงมีวิธีการดังนี้
การใช้งาน google ขั้นสูง ในการค้นหาข้อมูล

1.Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)

2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris
3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +x
4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย
5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF
6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"
7. Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเว็บ)
8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ
Adobe Portable Document Format (นามสกุลของไฟล์ pdf)
Adobe PostScript (นามสกุลของไฟล์ ps)
Lotus 1-2-3 (นามสกุลของไฟล์ wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)
Lotus WordPro (นามสกุลของไฟล์ lwp)
MacWrite (นามสกุลของไฟล์ mw)
Microsoft Excel (นามสกุลของไฟล์ xls)
Microsoft PowerPoint (นามสกุลของไฟล์ ppt)
Microsoft Word (นามสกุลของไฟล์ doc)
Microsoft Works (นามสกุลของไฟล์ wks, wps, wdb)
Microsoft Write (นามสกุลของไฟล์ wri)
Rich Text Format (นามสกุลของไฟล์ rtf)
Text (นามสกุลของไฟล์ ans หรือ txt)
วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)
9. Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)
10.Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword
11.Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น link:www.google.com แต่คุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้


ที่มา: วิชาการ.คอม
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

3. web ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล นอกจาก Google แล้ว ยังมีอื่นๆ อีก เช่น
นอกจาก Google ที่คุ้นๆ ก็มีดังนี้ที่อาจจะดีกว่าพี่ Google ในบางอย่างรูป
http://www.compfight.com/
http://www.spffy.com/
ไฟล์
http://www.thaidirr.com/
http://www.rapidshare-searcher.com/
http://fileshunt.com/rapidshare.php
http://www.data-sheet.net/
เพลง
http://www.midomi.com/
http://www.songza.com/
วิดีโอ
http://www.truveo.com/
อื่นๆ
http://www.viewzi.com/
http://www.groovle.com/


4. การกำหนดหมวดหมู่ในการค้นหาโดยใช้ Google
การจัดหมวดหมู่คืออะไร
การจัดหมวดหมู่ในวิกิพีเดียหมายความว่า การจัดกลุ่มบทความที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กันอยู่ภายใต้กลุ่มเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการค้นหาข้อมูลและดูเนื้อหาเรื่องที่เกี่ยวข้อง การจัดหมวดหมู่ในวิกิพีเดียสามารถทำได้โดยการใช้คำสั่งเพื่อระบุหมวดหมู่ของบทความนั้นๆ บทความที่มีการระบุหมวดหมู่จะไปอยู่รวมกันภายใต้เนื้อหาหัวข้อที่สัมพันธ์กัน โดยในหน้าหมวดหมู่นั้นๆ จะมีการจัดเรียงหัวข้อบทความตามรายชื่อตามตัวอักษรโดยอัตโนมัติ
การสร้างหมวดหมู่
ก่อนการสร้างหมวดหมู่ ควรพิจารณาความเหมาะสมที่เนื้อหาและความสัมพันธ์กันในเนื้อหา รวมถึงการตั้งชื่อหมวดหมู่ ในแต่ละบทความควรจะมีกลุ่มหมวดหมู่เนื้อหา และในแต่ละบทความอาจจะอยู่ได้ในหลายหมวดหมู่ เช่น บทความเรื่อง "นก" อาจจะอยู่ในหมวดหมู่ "สัตว์" และหมวดหมู่ย่อยของสัตว์อีก เป็น "สัตว์ปีก" เป็นต้น การเริ่มสร้างหมวดหมู่อาจจะเริ่มสร้างชื่อหมวดหมู่ไว้ที่หน้าหมวดหมู่เพื่อจะได้วางแผนจัดการเนื้อหาก่อน หรือจะใส่ชื่อหมวดหมู่ที่หน้าบทความนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมสร้างไว้ท้ายบทความ การสร้างชื่อหมวดหมู่ใช้คำสั่งดังนี้
• พิมพ์ชื่อหมวดหมู่ที่ต้องการหลัง category: [[category:ชื่อหมวดหมู่]]
• หรือพิมพ์ชื่อหมวดหมู่ที่ต้องการหลัง หมวดหมู่: [[หมวดหมู่:ชื่อหมวดหมู่]]
การสร้างหมวดหมู่ย่อย
การสร้างหมวดหมู่ย่อยทำเช่นเดียวกับการสร้างหมวดหมู่บทความ แต่จะต้องกำหนดหมวดหมู่หลักก่อน เช่น ในบทความเรื่อง "นก" ก็จะสร้างชื่อหมวดหมู่ไว้สองชื่อที่บทความคือ [[หมวดหมู่:สัตว์]] และ [[หมวดหมู่:สัตว์ปีก]]
การตั้งชื่อหมวดหมู่
การตั้งชื่อบทความในวิกิพีเดียไทยก็จะมีแนวปฏิบัติคือตั้งตามนโยบายการตั้งชื่อบทความ หลักการหลักๆ เช่น ตั้งชื่อเป็นภาษาไทย และชื่อควรเป็นคำนามไม่เป็นคำกริยา เช่น รัก ควรเป็น ความรัก เป็นต้น
การจัดเรียงหัวข้อในหมวดหมู่
โดยปกติบทความที่มีการระบุหมวดหมู่ จะจัดลำดับหัวข้อตามลำดับพยัญชนะภายใต้หมวดหมู่นั้นๆ โดยอัตโนมัติ แต่ในบางกรณีเราอาจจะต้องกำหนดด้วยคำสั่งเป็นกรณีพิเศษหากต้องการให้หัวข้อบทความนั้นๆ อยู่ในส่วนที่เรากำหนด ตัวอย่างเช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาพม่า หากไม่ได้กำหนดคำสั่งพิเศษ ก็จะถูกจำแนกให้อยู่ในหมวดอักษร ภ ตามพยัญชนะที่ขึ้นต้นคำ หากเราต้องการให้จัดอยู่ในหมวดหมู่ตามพยํญชนะที่ขึ้นต้นชื่อภาษาจะต้องคั่นด้วยเครื่องหมาย แล้วตามด้วยชื่อภาษา บทความนั้นก็จะถูกจัดเข้าในหมวดหมู่พยัญชนะที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น
[[หมวดหมู่:ภาษาอังกฤษอังกฤษ]] และ [[หมวดหมู่:ภาษาพม่าพม่า]]
ที่มา : การจัดหมวดหมู่ _ lomamikyway

ที่มา : การจัดหมวดหมู่ Investment Wiki

glitter-graphics.com

ใบงานที่ 4.


ใบงานที่ 4
ค้นหาและสังเคราะห์แนวความคิดของตนเอง ในตำต่อไปนี้
1. การจัดการความรู้
2. ขั้นตอนการจัดการความรู้
3. แหล่งข้อมูล
4. เครือข่ายการเรียนรู้
5. สารสนเทศ














การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
ซึ่งสามารถให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ว่า สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
1. บรรลุเป้าหมายของงาน
2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ
4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน


ขั้นตอนการจัดการความรู้

1. ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมในการจัดการความรู้ (Culture Change)
1.1 เปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรมของผู้บริหาร ครู และบุคลากรให้เป็นผู้ยึดแนวการทำงานที่เปิดรับ และพร้อมจะสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ พร้อมเป็นผู้แบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน
1.2 สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน มีมุมมองผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาในเชิงบวก
1.3 กล้านำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ ร่วมกัน หาทางออกหากขัดต่อระเบียบข้อบังคับ
1.4 สร้างโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน และให้โอกาสทีมงานด้วยความสมัครใจ
1.5 ปลูกฝังแนวคิดที่เอื้อต่อการทำงาน เช่น ความตั้งใจจริง การเอาชนะอุปสรรค การทำงานให้ผลออกมาดีที่สุด ความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในความถูกต้อง ความดีงาม ฯลฯ
2. สื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Communication)
2.1 สื่อสารให้ความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้น เช่น ความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบ ประโยชน์ของการจัดการความรู้
2.2 สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ ขั้นตอนในการจัดการความรู้ ตลอดจนเครื่องมือที่จะใช้ในการจัดการความรู้
2.3 สื่อสารถึงบทบาทหน้าที่คณะทำงาน และผู้เกี่ยวข้องในการจัดการความรู้
2.4 สื่อสารเกี่ยวกับเป้าหมายของการจัดการความรู้ ตลอดจนความยาก และปัญหาที่อาจจะพบในการจัดการความรู้
3. กระบวนการและเครื่องมือในการจัดการความรู้ (Process and Tools) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ถ้าเป็นการจัดการความรู้ประเภทชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) มักจะใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ประเภทฝังลึก (Tacit Knowledge) มักจะเป็นกระบวนการที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปันได้ เช่น
3.1 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกัน
3.2 สอนงาน (Coaching)
3.3 เรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)
3.4 จัดชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice)
4. เรียนรู้ (Learning) เพื่อสร้างความรู้ต่อยอด ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลาย สำหรับข้อเสนอแนะในครั้งนี้ เป็นการเรียนรู้โดยการจัดชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) มีกระบวนการขั้นตอนดังนี้
4.1 การกำหนดเป้าหมาย (Desired State) ซึ่งเป็นความต้องการในการจัดการความรู้ เพื่อตอบคำถามจะจัดการความรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องใด และจะทำให้ใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์ในการจัดการความรู้นั้น
4.2 สรรหาผู้ปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ สมาชิกทุกคนที่เข้าร่วมเวทีต้องเป็นตัวจริง คือเป็นผู้ปฏิบัติงานในเรื่องนั้น ๆ ที่ประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับ เป็นแบบอย่างที่ดี และมาจากความแตกต่าง หลากหลาย จึงจะเกิดพลัง
4.3 ค้นหาความรู้ฝังลึกในตัวผู้ปฏิบัติ ซึ่งเขามีวิธีการปฏิบัติอย่างไร จึงประสบผลสำเร็จ ผ่านเทคนิคการเล่าเรื่อง (Story telling) โดยใช้กระบวนการสกัดขุมความรู้ (Knowledge Assets) เป็นรายบุคคล แล้วหลอมรวมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของทุกคนให้เป็นแก่นความรู้ (Core Competence)
4.4 สร้างความรู้ ที่กระจัดกระจายอยู่มากมายมารวมไว้ เพื่อจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสม และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยจัดทำเป็นฐานข้อมูลต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
4.5 เลือกและกลั่นกรอง (Refine) โดยสรรหาเลือกความรู้ที่เป็นประโยชน์ และโดดเด่น ซึ่งอาจจะนำไปเทียบเคียงทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดที่มีบันทึกไว้ หากไม่ตรงกับหลักการใด เราอาจจะได้หลักการปฏิบัติใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น
4.6 เผยแพร่ความรู้ (Knowledge Distribution) กิจกรรมนี้ นำการจัดการที่เป็นระบบแล้วเผยแพร่แก่นักปฏิบัติที่มีความต้องการจะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ไปใช้ประโยชน์
4.7 นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (Use) เป็นกิจกรรมที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อมีการจัดการความรู้แล้วไม่นำไปใช้ประโยชน์ก็ไม่บังเกิดผลใด ๆ ทำให้เกิดความสูญเปล่าในการจัดการความรู้
4.8 นำความรู้ที่ได้มา และผ่านการนำไปใช้แล้วว่าเกิดประโยชน์จริง มาเก็บไว้ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ไว้เป็นแหล่งความรู้ (Knowledge Assets) เพื่อให้เกิดพลังในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
4.9 ตรวจสอบ (Monitor) เป็นการทบทวนดูว่าทุกขั้นตอนของการจัดกระบวนการความรู้ มีขั้นตอนใดที่จะต้องปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขั้นตอนใดมีความเหมาะสมดีแล้ว
5. การวัดผลการจัดการความรู้ (Meausurement) การวัดผลจะทำให้เราได้รู้ว่าการจัดการความรู้ของเรา สามารถก่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรมจริงหรือไม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องจัดทำตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายไว้ อย่างน้อยที่สุด 3 ประการ คือ เกิดการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร ตัวชี้วัดควรมีลักษณะดังนี้
- ตัวชี้วัดจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน
- ตัวชี้วัดต้องสามารถอธิบายและทำความเข้าใจแก่ทุกคนได้
- ตัวชี้วัดบางตัว อาจมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ควรให้ทุกคนในหน่วยงานรับทราบ
6. การยอมรับและให้รางวัล (Recognition and Rewards) ในการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้นั้น จะต้องมีสิ่งกระตุ้น ผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพิจารณาเรื่องการยอมรับ และให้รางวัล ก็เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ ความสอดคล้อง และความเต็มใจถ่ายทอดร่วมกับผู้อื่น ซึ่งแต่ละองค์กรต้องพิจารณาตามความเหมาะสม เช่น
- ของรางวัล
- ประกาศเกียรติคุณ
- คำยกย่อง ชมเชย

อย่างไรก็ตาม รางวัลอาจเป็นเงื่อนไขที่ตามมา ดังนั้น จึงควรผลักดันให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่า ผลสำเร็จของงาน คือ รางวัลที่ยิ่งใหญ่ของตนเอง (Self – rewarding


แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล หมายถึง ต้นกำเนิดหรือที่มาของข้อมูล เช่น
1. ข้อมูลจากการมองเห็น ได้แก่ การอ่านหนังสือ การดูภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์และเห็นวัตถุต่าง ๆ
2. ข้อมูลจากการฟัง ได้แก่ ฟังวิทยุ โทรศัพท์ รับฟังเสียงได้
เพียงอย่างเดียว
3. ข้อมูลภาพและเสียง ได้แก่ ข้อมูลจากโทรทัศน์และภาพยนตร์
มีทั้งภาพและเสียงทำให้เรารับทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก
แหล่งข้อมูลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จาก การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง (บาร์โด้ด : Barcode) เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก
เครื่องอ่านรหัสแท่ง
2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผล
เป็นสารสนเทศ แล้ว เช่น สถิติการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้น

สถิติข้อมูล
เครือข่ายการเรียนรู้
ความหมายของเครือข่าย
เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
หลักสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
การเรียนรู้ตลอดชีวิตควรเริ่มจากการมีส่วนร่วมของบุคคล องค์กรและชุมชนในการตระหนักถึงปัญหาและการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างเสริมประสบการณ์ การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน จนทำให้เกิดการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้สรุปหลักการสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้ไว้ ดังนี้

๑. การกระตุ้นความคิด ความใฝ่แสวงหาความรู้ จิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
๒. การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน การกระจายความรู้ทั้งในส่วนของวิทยากรสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ
๓. การแลกเปลี่ยนข่าวสารกับหน่วยงานต่างๆ ของทั้งในภาครัฐและเอกชน
๔. การระดมและประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและลดความซ้ำซ้อน สูญเปล่าให้มากที่สุด
สารสนเทศ
สารสนเทศ (information) [1] เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
สารสนเทศสามารถหมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน
ถึงแม้ว่าคำว่า "สารสนเทศ" และ "ข้อมูล" มีการใช้สลับกันอยู่บ้าง แต่สองคำนี้มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดคือ ข้อมูลเป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้จนกว่าจะมีการจัดระเบียบและดึงออกมาใช้ในรูปแบบสารสนเทศ

glitter-graphics.com

ใบงานที่ 2.

ใบงานที่ 2

ชื่อหน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
สถานที่ตั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 อ.ท่าศาลา
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
นครศรีธรรมราช เขต 4

 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความ อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมหรือสัญญาณระบบต่างๆ
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อหน่วยงานทางการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ Globalizationมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมที่จะนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนนักเรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้น และการต้องดูแลสนับสนุนการจัการศึกษามากขึ้น ด้วยระยะเวลาที่สั้นลงการใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวโดยสรุปนวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้
๑. การเพิ่มปริมาณของผู้มาใช้บริการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามากขึ้น เช่น มารับบริการด้านสวัสดิการต่าง ๆ เช่นค่ารักษาพยาบาล ค่าศึกษาบุตร การประกวดราคา การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดประชุม ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้ต้องอาศัยนวัตกรรมและสารสนเทศทั้งสิ้น
๒. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การสนับสนุนการเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอบแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
๓. การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้นตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer Assisted Instruction หรือ CAI การเรียนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น
๔. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคมมีส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดนนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ที่เรียกว่า "Web-based learning" ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Any where,Any time for Everyone) การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวางในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้นแต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง และรวดเร็วมากกว่าก่อนนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทบาทของนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่ ๆ ตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบมัลติมีเดีย วีดีโอออนดีมานด์ (Video-on-Demand) การประชุมทางไกล (Teleconference)
อี-เลินนิ่ง (e-learning) อี-เอ็ดดูเคชั่น (e-Education) เป็นต้น

 วิสัยทัศน์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการศึกษา ยึดหลักธรรมาภิบาล จัดบริการที่ดีและการมีส่วนร่วม บุคลากรมีศักยภาพ ก้าวทันเทคโนโลยี ผู้เรียนมีคุณธรรม มีคุณภาพตามมาตรฐาน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 ยุทธศาสตร์
1. ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ผู้เรียนทุกคน
2. เพิ่มอัตราการเข้าเรียนในช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 ทั้งเด็กทั่วไป ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ลดอัตราการออกกลางคัน
3. พัฒนาศักยภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร
4. เร่งพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยี
5. พัฒนาระบบบริการในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
6. พัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

บริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 เป็นหน่วยงานทางการศึกษา
ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ขึ้นตรงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอท่าศาลา
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภาระกิจหลักสำคัญคือให้การสนับสนุนด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับเด็กในวัยเรียนภาคบังคับทุกคนในเขตบริการ
มีบุคลากรในสำนักงานจำนวนทั้งสิ้น 102 คน มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ จำนวน 12 คน มีโรงเรียนอยูในสังกัดทั้งสิ้น จำนวน 181 โรงเรียน (ของรัฐบาล 158 โรงเรียน ของเอกชน 23 โรงเรียน) ต้องให้การสนับสนุนดูแลข้าราชการครูเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการและความก้าวหน้าทางวิชาชีพ จำนวน 3,251 คน

โครงสร้างของหน่วยงาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสรีธรรมราช เขต 4 แบ่งโครงสร้างขององค์กรออกเป็นกลุ่ม
ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 7 กลุ่มด้วยกัน ในแต่ละกลุ่มจะมีผู้อำนวยการกลุ่ม เป็นผู้คอยตรวจสอบกลั่นกรองงาน และมีรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้กรองงานอีกชั้นหนึ่งก่อนที่จะนำเสนอให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อนุมัติตัดสินใจ ยกเว้นหน่วยตรวจสอบภายในจะเสนองานโดยตรงต่อผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ไม่ต้องผ่านรองผู้อำนวยการ
กลุ่มต่าง ๆ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ฯ มี 7 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มอำนวยการและสินทรัพย์
2. กลุ่มนโยบายและแผน
3. กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
4. กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน
5. กลุ่มบริหารงานบุคคล
6. กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล
7. หน่วยตรวจสอบภายใน

แผนภูมโครงสร้างขององค์กร
สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
ปัญหาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
เนื่องจาก
1. สภาพการทำงานในปัจจุบัน ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการบริหารจัดการ เช่น นำคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ท ซอฟแวร์ โปรแกรม ต่าง ๆ เข้ามาใช้ ซึ่งทุก ๆ อย่างล้วนแต่มีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันระบบสารสนเทศได้นำเข้ามาใช้ในเชิงสนับสนุนด้านการศึกษามากมาย เช่น ระบบการรับส่งหนังสือราชการด้วยระบบ e-office ระบบ
e-ffiling ระบบ VDO.Conferrent ระบบการศึกษาผ่านดาวเทียม เป็นต้น
2. การบำรุงรักษา ดูแล วัสดุ อุปกรณ์ เกียวกับเทคโนโลยี ยังไม่ได้มาตรฐาน
ดังนั้น เมื่อได้รับการจัดสรรวัสดุ อุปกรณ์มาแล้ว ก็ดูแลรักษาไม่เป็นทำให้การใช้งานไม่คุ้มค่ากับราคา
3. บุคลากรที่เป็นผู้ใช้เทคโนโลยี ไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ จึงทำให้นำมาใช้ได้ไม่เต็มศักยภาพ เช่น ได้รับการจัดสรรคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค มา 1 เครื่อง ก็นำมาใช้พิมพ์หนังสืออย่างเดียว กรณีดังกล่าวถือว่านำมาใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ ทั้ง ๆที่คอมพิวเตอร์นั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางหากมีความรู้ความสามารถ เช่น นำมาใช้ในการสืบค้นหาข้อมูล ประกอบการวางแผนอัตรากำลัง หรือวางแผนในการลงทุน วิเคราะห์ ประมวลผล ในเรื่องสถิติต่าง ๆ ได้มากมาย แม้นแต่การเดินทางรอบโลกก็สามารถท่องเที่ยวทางอินเตอร์เน็ตได้
ดังนั้นจึงถือว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องจัดอบรมพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ ความชำนาญในการค้นคว้า และโปรแกรมต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
4. ไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย กล่าวคือ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้วยังเก่าล้าสมัยไม่ทันต่อโปรแกรมต่าง ๆ ที่มีความไวสูง และ ยังมีไม่เพียงพอ เช่น บุคลากร 3 คนต่อ คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ไม่ทันกับสถานการณ์ที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา
5. ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญในการเตรียมบุคลากรในการใช้เทคโนโลยี กล่าวคือยังขาดการวางแผนล่วงหน้าว่าในอนาคตต้องเตรียมบุคลากร หรือเตรียมอะไรไว้รองรับบ้าง
6. ข้าราชการส่วนหนึ่งยังไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมรับเทคโนโลยีสมัยใหม่
7. ยังขาดระบบที่ทันสมัย เช่นระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ระบบเครือข่ายผ่านดาวเทียม ระบบไมโครเว็ป เป็นต้น


ผู้ให้ข้อมูล นายจารุวัฒน์ เสนลิ้น
รหัสนักศึกษา 5246701012
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
ณ วันที่ 19 พ.ย.2552

glitter-graphics.com

ใบงานที่ 1.

ใบงานที่ 1
อธิบายความหมายของคำสำคัญดังต่อไปนี้ พร้อมกับยกตัวอย่าง
(ศึกษากรณีศึกษาการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศในสถาบันการศึกษา)

การจัดการ / การบริหาร

คำว่า “การจัดการ” (management) จะเน้นการปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย (แผนที่วางไว้) ซึ่งนิยมใช้ในภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อมุ่งแสวงหากำไร (profits) หรือกำไรสูงสุด (maximum profits) สำหรับผลประโยชน์ที่จะตกแก่สาธารณะถือเป็นวัตถุประสงค์รองหรือเป็นผลพลอยได้ (by product) เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงแตกต่างจากวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหน่วยงานภาครัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสาธารณะทั้งหลาย (public services) แก่ประชาชน การบริหารภาครัฐทุกวันนี้หรืออาจเรียกว่า การบริหารจัดการ (management administration) เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจมากขึ้น เช่น การนำแนวคิดผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer) หรือ ซีอีโอ (CEO) มาปรับใช้ในวงราชการ การบริหารราชการด้วยความรวดเร็ว การลดพิธีการที่ไม่จำเป็น การลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ และการจูงใจด้วยการให้รางวัลตอบแทน เป็นต้น นอกเหนือจากการที่ภาครัฐได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจเข้ามารับสัมปทานจากภาครัฐ เช่น ให้สัมปทานโทรศัพท์มือถือ การขนส่ง เหล้า บุหรี่ อย่างไรก็ดี ภาคธุรกิจก็ได้ทำประโยชน์ให้แก่สาธารณะหรือประชาชนได้เช่นกัน เช่น จัดโครงการคืนกำไรให้สังคมด้วยการลดราคาสินค้า ขายสินค้าราคาถูก หรือการบริจาคเงินช่วยเหลือสังคม เป็นต้น

คำว่า “ การบริหาร ” (administration) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน “administatrae” หมายถึง ช่วยเหลือ (assist) หรืออำนวยการ (direct) การบริหารมีความสัมพันธ์หรือมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “minister” ซึ่งหมายถึง การรับใช้หรือผู้รับใช้ หรือผู้รับใช้รัฐ คือ รัฐมนตรี สำหรับความหมายดั้งเดิมของคำว่า administer หมายถึง การติดตามดูแลสิ่งต่าง ๆ
“ การบริหาร ” (Administration) จะใช้ในการบริหารระดับสูง โดยเน้นที่การกำหนดนโยบายที่สำคัญและการกำหนดแผนของผู้บริหารระดับสูง เป็นคำนิยมใช้ในการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) หรือใช้ในหน่วยงานราชการ
การบริหาร คือกลุ่มของกิจกรรม ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การสั่งการ (Leading/Directing) หรือการอำนวย และการควบคุม (Controlling) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร (6 M’s) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญในการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน

ตัวอย่าง การจัดการ เช่น การจัดการกับ ปัจจัยการบริหาร คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ และวิทยาการ
ให้เกิดกำไรสูงสุด มีประสิทธิผลและเกิดประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัดการเกี่ยวกับการ
ผลิตสินค้าเพื่อลดต้นทุนต่ำสุด

ตัวอย่าง การบริหาร เช่น การบริหารงานภายในสำนักงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน
และให้มีการใช้ปัจจัยทางการบริหารให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

นวัตกรรม

“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

ตัวอย่าง เช่น - การผลิตหุ่นยนต์ช่วยเหลือมนุษย์ในที่อันตราย
- การผลิตเครื่องมือทางการแพทย์สมัยใหม่

เทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี
(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์หลักการวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเสนอ แสดง และถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความหมายนี้พัฒนามาจากความคิดของกลุ่มนักโสต-ทัศนศึกษา

ตัวอย่าง เครื่องมือสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

ข้อมูล

ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ

ตัวอย่าง เช่น จำนวนนักเรียนโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ มี 2,000 คน
มีครู 100 คน

สารสนเทศ

สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

ตัวอย่าง เช่น 1. กราฟแสดงจำนวนการซื้ออัลบัมเพลงร๊อค จำแนกตามอายุ
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขาดเรียนร้อยละ 25
3. สัดส่วนของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลจังหวัดนครศรีธรรมราชและโรงเรียน
บ้านคอกวัว 75 : 1
4. ข้อมูลสารสนเทศประวัติของนักเรียน

ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information System ) หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์
มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมูลนั้นกลายเป็น
สารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว
และถูกต้อง
ระบบสารสนเทศ ( Information System หรือ IS) คือ งานประยุกต์คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทำหน้าที่รับข้อมูล (input) แล้วนำมาประมวลผล (process) ให้เป็นสารสนเทศ (information) ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การใช้งาน

ตัวอย่าง
.1 ระบบสารสนเทศเพื่อการขายและการตลาด มีหน้าที่หลักทางการขายและการตลาด(sale and marketing) การวางแผนเกี่ยวกับตัวสินค้า
.2 ระบบสารสนเทศทางการผลิต มีหน้าที่หลักทางการผลิต (manufacturing / production/operation) การออกแบบผลิตภัณฑ์
3 ระบบสารสนเทศทางการเงิน ทำหน้าที่หลักทางการเงิน (finance) เกี่ยวกับการคาดการณ์ทางการเงิน
4 ระบบสารสนเทศทางบัญชี ทำหน้าที่ด้านการดำเนินการและจัดการทางบัญชี (accounting) ไม่ว่าจะเป็นระบบบัญชีระดับปฏิบัติการ ระบบประมวลผลธุรกรรมต่าง ๆ
5 ระบบสารสนเทศทางทรัพยากรมนุษย์ ทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (human resource management) การคัดเลือก และจัดจ้างพนักงาน การวิเคราะห์ค่าตอบแทน ประเมินผลกาทำงาน
วิเคราะห์ผลประโยชน์ของลูกจ้าง พนักงานจัดทำแผนสวัสดิการ พยากรณ์ความต้องการกำลังคน การอบรม การพัฒนา บุคลากร

ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร

ตัวอย่าง เช่น 1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร


การสื่อสาร

การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ

การสื่อสาร หมายถึง การติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่งทำให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และ เกิดการตอบสนอง ปัจจุบันการสื่อสารมีมากมายหลายวิธี

ตัวอย่าง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม
หรือ การสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว เรียกอีกอย่าง
หนึ่งว่า อินเตอร์เน็ท ก็ได้

เครือข่าย

เครือข่าย หมายถึง กลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันดังนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยสื่อการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 ระบบเข้าด้วยกัน รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ

ตัวอย่าง เช่น ระบบต่าง ๆ ดังนี้
1. LAN ( Local Area Network ) ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น เป็นเน็ทเวิร์กในระยะทาง
ไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือนะเป็น
ระบบเน็ทเวิร์กที่อยู่ภายในองค์กรหรืออาคารเดียวกัน
2. MAN ( Metropolitan Area Network ) ระบบเครือข่ายระดับเมือง เป็นเน็ทเวิร์กที่ต้อง
ใช้โครงข่ายของการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็น
การติดต่อสื่อสาร กันในเมือง
3. WAN (Wide Area Network ) ระบบเครือข่ายระดับกว้างไกล หรือ เรียกกันว่าเป็น
World Wide ของระบบเน็ทเวิร์กโดยจะเป็นการสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีป
หรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย ( Media ) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up line/ คู่สายเช่า leased line/ISDN
(Integrated Service Digital Network สามารถส่งข้อมูลให้ทั้งข้อมูลเสียงและภาพ ใน
เวลาเดียวกัน))


เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

“เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ขอมูล และการสื่อสาร นับตั้งแตการสราง การนํามาวิเคราะหหรือประมวลผลการรับและสงขอมูล การจัดเก็บ และการนําไปใชงานใหม เทคโนโลยีเหลานี้ มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร ซึ่งประกอบดวย
สวนอุปกรณ (hardware) สวนคําสั่ง (software) และสวนขอมูล (data) และระบบการสื่อสารตางๆ ไมวาจะเปนโทรศัพท์ ระบบสื่อสารขอมูล ดาวเทียม หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆ ทั้งมีสายและไรสาย”

ตัวอย่าง เช่น 1. ใชในรูปการพาณิชยของประเทศ เช่น
- การให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างเครือข่าย และการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์OTOP
(หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์)
- การจองห้องพักผ่านระบบเครือข่าย
- การจองตั๋วเครื่องบินผ่านระบบเครือข่าย
2. ใช้ในการศึกษา เช่น การเปิดเครือข่าย school-net ให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ทั่ว
ประเทศให้มีโอกาสหาความรู้จากระบบอินเตอร์เน็ตได้เท่าเทียมกัน
3. ใช้ในการพัฒนาขั้นตอนและกระบวนการทำงานให้เกิดความกะทัดรัด
ประหยัด มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น
- การจัดเก็บภาษีเงินได้ของรัฐ
- การจัดทำบัตรประชาชน
- การรับคำร้องเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- การให้ข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา Information & Communication Technology for Education หมายถึง การนำ เอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกัน สำ หรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล และมัลติมีเดียเกี่ยวกับความรู้ โดยผ่านกระบวนการประมวลหรือจัดทำ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวกมาใช้ประโยชน์สำ หรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอก



ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนไทยสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ตัวอย่าง เช่น 1. การเรียนทางไกล จัดให้มีศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware Center)
2. การเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)
3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
4. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Librar



glitter-graphics.com